กฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

1.1ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คือลิขสิทธิ์ที่อนุญาตให้ใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆโดยชอบธรรมตามกฎหมาย โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟรีแวร์และโอเพนซอร์สนั้นมาพร้อมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสียเงินเสมอไป แต่ใช้เพื่ออธิบายสิทธิของผู้ใช้ว่าได้รับการอนุญาตให้ทำอะไรบ้าง[1]
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทตามลักษณะการคุ้มครอง ดังนี้
  • Ad ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี แต่ก็มีการเก็บเงินบ้างเป็นบางครั้ง บวกกับการโฆษณาบนเว็บไซต์[5] Ad ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นกัน
  • Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรีโดยไม่มีการเสียค่าตอบแทนแต่อย่างได้ และสามารถนำโปรแกรมประเภทFree wareส่งต่อให้ผู้อื่นใช้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่มีการนำโปรแกรมนั้นไปขาย[6] Free ware มีการคุ้มครองน้อยหรือมีการคุมครองเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
  • Open source คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้ยังสามารถร่วมกันพัฒนาโปรแกรมประเภทOpen sourceได้อีกด้วยโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก่ไขโปรแกรมนั้นๆ
1.2 การละเมิดลิขสิทธ์ซอพแวร์
         
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หมายถึงการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการคัดลอกซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยมีหลายประเทศที่มีกฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีกฎหมายบังคับ แต่ระดับการบังคับแตกต่างกันไป ระบบคอมพิวเตอร์ที่เก่าแก่ที่สุดในทุกวันนี้มีอายุราว 40 ปี ในด้านลิขสิทธิ์แล้วจะไม่หมดลิขสิทธิ์ไปจนราวปี ค.ศ. 2030 ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

1.3 พรบละเมิดลิขสิทธ์ซอพแวร์

ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์) โดยจัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรม(Literary work)           

            ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์กำหนดว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์หมายถึงคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นได้ที่นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน หรือให้ได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีที่บุคคลใดๆ ทำซ้ำ ดังแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคคลนั้นจะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือหากเป็นการกระทำเพื่อการค้า จะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 800,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ

            นอกจากนี้หากผู้ใดรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นแต่ยังนำไปขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธรณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ นำเข้าหรือสั่งเข้ามา ในประเทศไทย เพื่อหากำไร ก็มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 100,000 บาท และหากเป็นการทำเพื่อการค้า ผู้นั้นจะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน -2 ปี หรือปรับตั่งแต่ 50,000 – 400,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ           

            นอกเหนือจากการแก้ไขบรรเทาความเสียหายในคดีอาญาแล้ว เจ้าของลิขสิทธิ์ยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง ในกรณีมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ ภายใต้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ หาศาลพบว่ามีการกระทำความผิดจริง อาจมีคำสั่งห้ามมิให้กระทำละเมิดอีกต่อไป และมีคำสั่งให้ชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอันเนื่องจากการละเมิดดังกล่าว

สิทธิตามกฎหมาย

            ภายใต้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ได้ให้ความคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยให้สิทธิแก่ผู้สร้างสรรค์เพียงผู้เดียว ในงานที่มีลิขสิทธิ์ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  • สิทธิในการสำเนาทั้งหมดหรือบางส่วนของโปรแกรม
  • สิทธิในการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงโปรแกรม สิทธิในการเผยแพร่งานต่อสาธารณชน
1.4 บทกำหนดโทษ
 
บทกำหนดโทษการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
 
มีสิทธิ์ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาหรือคดีแพ่งก็ได้ แล้วแต่เจ้าของลิขสิทธิ์

ละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ว่าจำหน่ายหรือใช้งานเอง มีสิทธิ์จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
 นิติบุคคลกระทำความผิด ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคลนั้น !!! เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
 
ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีก
ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

อ้างอิงตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ ปี พ.ศ.2537